เมนู

กับมโนวิญญาณจะบังคับบัญชาสัญญากันไว้า เตสํ อลฺลาปสลฺลาโป ธรรมทั้งสองจะพูดจาไปมา
หากันก็มิได้ ทฏฺฐพฺพานิ บพิตรพึงเข้าพระทัย ด้วยอุปมาอุปไมยดังนี้เถิด
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์กรุงมิลินท์ผู้ประเสริฐทรงฟังก็ปรีดาตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะพระ
ผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรนักหนา
จักขุวิญญาณมโนวิญญาณปัญหา คำรบ 7 จบเท่านี้

ผัสสลักขณาปัญหา ที่ 8

พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประเสริฐ จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด เวทนาก็บังเกิดในที่นั้นหรือ พระผู้เป็นเจ้า
เถโร ฝ่ายพระนาคเสนเถระผู้เป็นเจ้าจึงรับว่า อาม เออ มหาราช ขอถวายพระพร
บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด เวทนาก็บังเกิดในที่นั้น อันว่าเจตสิก-
ธรรมคือ สัญญาและเจตนา ผัสโส มนสิกาโรก็บังเกิดด้วยในที่นั้น วิตกบังเกิดในที่นั้น วิจาร
ก็บังเกิดในที่นั้น อันว่าผัสสาทิธรรมทั้งปวงก็บังเกิดด้วยในที่นั้นสิ้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปรีชา ผัสสะมีลักษณะเป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้ประเสริฐ ผัสสะ
เมื่อจะเกิดมีลักษณะกระทบกันเข้า
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงซักถามว่า ได้ใจความประการใดเล่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนา
โดยอุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ผู้ประเสริฐในศฤงคาร เปรียบปานดุจแพะสองตัวชนกัน แพะตัวหนึ่งนั้นได้แก่จักขุ แพะ
ตัวหนึ่งนั้นได้แก่รูป สันนิบาตแห่งแพะทั้งสองชนกัน ยถา มีครุนาฉันใด ผัสสะนั้นมีลักษณะ
เกิดแต่จักขุกับรูปกระทบกันมีครุวนาดังนี้ พระราชสมภารพึงเข้าพระทัยเถิด
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์เลิศกษัตริย์ตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้น
ไปกว่านี้